Last updated: 31 ต.ค. 2566 |
ตร. สน. โคกคราม รวบ จนท.ธนาคาร หลอกลูกค้า VIP สูญ 100 ล้าน
พนักงานธนาคารคนนี้ คือ นายนันทวัธฒ์ หรือ บอย เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโส มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มีหน้าที่ ดูแลลูกค้าพิเศษมีเงินฝากระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ระหว่างวันที่ 1 เมาายน 2563 ถึง 5 มิถุนายน 2566 ได้หลอกลูกค้าพิเศษของธนาคาร 18 ราย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนของธนาคาร หรือการลงทุนอื่นที่ไม่ใช่ของธนาคาร เช่น การลงทุนทอง โดยให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวของนาย บอย ที่สร้างผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า "Exness" แต่เงินไม่เข้าบัญชีของธนาคาร และแอบนำชิมการ์ดโทรศัพท์ของลูกค้า 1 ใน 18 ราย มาเสียบเข้ากับโทรศัพท์ของเขาเอง เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีของตัวเอง
แต่ที่เรื่องมาแดง เพราะลูกค้ากำลังจะนำเงินไปทำธุรกรรมแต่ไม่พบว่ามีเงินฝากดังกล่าว ถึงได้รู้ว่าสูญเงินไปกว่า 94 ล้านบาท ซึ่งเจ้าตัวก็รับสารภาพว่าทุจริตจริง โดยเอาเงินไปเทรดทองคำ ตำรวจจึงขอศาลออกหมายจับในข้อหา "ฉ้อโกงและเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ " ก่อนจะควบคุมตัวที่บ้านพักสุดหรูย่านประเวศ ที่เขาเช่าอยู่เดือนละ 6 หมื่นบาท และยังพบรถสปอร์ตหรูอีก 1 คัน พบว่าเงินของลูกค้าที่ยักยอกมานำไปลงทุนในพอร์ตหุ้นกว่า 18 ล้านบาท
ซึ่งธนาคารติดตามยึดคืนได้แล้ว 21 ล้านบาท ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ นั้นเจ้าหน้าที่ยังไม่พบ เมื่อเช้าที่ผ่านมาตำรวจ สน.โคกคราม คุมตัว นาย บอย ฝากขังยังศาลอาญามีนบุรี พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และยังเป็นคดีที่มีความเสียหายมูลค่าสูง เตรียมขยายผลออกหมายจับเพิ่มอีก เพราะมีผู้เสียหายอีก 17 คน ที่โดนหลอก
รายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ต้องหา นายนัทธวัฒน์ อยู่วงษ์ อายุ 36 ปี
ที่อยู่ 48/38 ซอยเสรีไทย 41 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
ความผิดฐาน “ฉ้อโกงและเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงไว้โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนเองและปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม”ตามหมายจับศาลอาญามีนบุรี ที่ จ.1086/2566 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2566
วันที่จับกุม วันที่ 28 ตุลาคม 2566 เวลาประมาณ 08.00 น.
สถานที่จับกุม ภายในบ้านเลขที่ 588/69 หมู่บ้านเศรษสิริ ถนน เฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
กล่าวคือ ธนาคารแห่งหนึ่ง ได้ตรวจพบว่า นายรวย เจ้าหน้าที่อาวุโส-ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงินฯมีพฤดิกรรม
ทุจริตต่อหน้าที่ โดยระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ได้ทำการทุจริตหลอกลวงลูกค้าของธนาคารจำนวน 18 ราย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนของธนาคารและหรือผลิตอื่นที่มิใช่ของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าลงทุน