สส.ปชน.กระทุ้งทวงปรับค่าแรง รมว.แรงงาน แจงฝ่ายนายจ้างคัดค้าน ย้ำต้องคำนึงสถานะการเงิน

Last updated: 26 ก.ย. 2567  | 

สส.ปชน.กระทุ้งทวงปรับค่าแรง รมว.แรงงาน แจงฝ่ายนายจ้างคัดค้าน ย้ำต้องคำนึงสถานะการเงิน

สส.ปชน.กระทุ้งทวงปรับค่าแรง - รมว.แรงงาน แจงฝ่ายนายจ้างคัดค้าน-ย้ำต้องคำนึงสถานะการเงิน-ภาระ SMEs ป้องกันแรงงานตกงานด้วย – แย้มปลายปีนี้รอลุ้นเกณฑ์ขั้นต่ำแรงงาน SMEs

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามของนายเซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามถึงความตั้งใจในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ หรือเป็นเพียงเป็นการเล่นละคร เพื่อให้วงประชุมล่ม บ่ายเบี่ยงการปรับค่าแรงหรือไม่ ทั้งกรณีที่ตัวแทนเอกชนไม่เข้าร่วมประชุม หรือ ผู้แทนแบงก์ชาติ ไม่เข้าร่วมการประชุม จนทำให้องค์ประชุมไม่ครบ และไม่สามารถ โดยยืนยันว่า ตนเองมีความตั้งใจจริง และเชื่อว่า แรงงานจะเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐบาล ตั้งแต่สมัยนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570 ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และไม่ได้กำหนดนโนบายค่าแรงไว้ในนโยบายรัฐบาล แต่ตนเองก็ถือว่า ได้รับโจทย์จากรัฐบาลนายเศรษฐา และพร้อมเดินหน้านโยบายดังกล่าวต่อไป พร้อมได้ย้อนถามกลับไปยังนายเซียว่า หากการประชุมดังกล่าวสามารถจัดการประชุมได้ และฝ่ายนายจ้าง ได้ยืนยันคัดค้านการขึ้นค่าแรงทั้ง 5 คน จากปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุน และดอกเบี้ยที่สูงเกินความเป็นจริง และฝ่ายราชการ ตัวแทนแบงก์ชาติ ขาดใครไปเพียงเสียงเดียว ผลเสียที่เกิดขึ้นจากวงประชุมดังกล่าวจะเกิดกับใคร รวมถึงผลกระทบด้านดอกเบี้ยที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามต่อรองแบงก์ชาติให้ลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยนายจ้าง และหนี้สินครัวเรือนไทยสูงมาก จนปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ และมีการยึดสินทรัพย์ โดยเฉพาะรถยนต์จนล้นลานจอดรถ เพื่อรอการประมูลแล้ว รวมถึงเต็นท์รถ ยังปิดตัวลงจำนวนมาก พร้อมยืนยันว่า ตนเองไม่สามารถแทรกแซง หรือเข้าไปร่วมประชุม เพื่อเจรจาในการประชุมบอร์ดค่าจ้างได้ เพราะเป็นไปตามระเบียบ ที่ห้ามฝ่ายการเมืองเข้าไปข้องเกี่ยว


ส่วนการพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำ เฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 200 คนขึ้นไป หรือปรับเป็นบางกิจการไม่เท่ากันนั้น นายพิพัฒน์ ชี้แจงว่า การประกาศค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทนั้น ได้ใช้เกณฑ์ลูกจ้างตามเกณฑ์ หากมีพนักงาน หรือลูกจ้าง มากกว่า 200 คน ก็จะปรับค่าแรงเป็น 400 บาท แต่หากมีพนักงานน้อยกว่า 200 คน รัฐบาล ก็จะไม่พยายามปรับ เพราะถือว่า SMEs ถือครองแรงงาน 90% ของประเทศ และปัจจุบัน SMEs หลายแหล่ง แทบจะอยู่ไม่ได้ เพราะการต่อตู้ทางการค้ารุนแรง และพยายามหาวิธีเพื่อช่วยกู้สถานะทางการเงิน เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และเดินหน้ากิจการไปได้ เพื่อรองรับการปรับค่าแรงในครั้งถัดไป แต่หากปรับค่าแรงขณะนี้ ก็เชื่อว่า แรงงานกว่าแสนคน จะตกงาน ซึ่งตนก็ไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบหากเกิดสถานการณ์นั้นขึ้น

นายพิพัฒน์ ยังระบุอีกว่า การปรับค่าแรงที่ผ่านมา ครอบคลุมแรงงานกว่า 2,200,000 คน แบ่งเป็นแรงงานไทย 1,700,000 คน และแรงงานต่างด้าว 500,000 คน ซึ่งนายจ้าง ได้รับผลกระทบต่อแรงงาน 1 คน เป็นจำนวนเงิน 72.78 บาท ซึ่งถือเป็นผลกระทบรุนแรง และหากรัฐบาล ผลักภาระดังกล่าวให้ SMEs เพิ่ม และหาก SMEs ล้ม ก็ทำให้ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับกระทรวงแรงงาน ดังนั้น การประกาศนำร่องค่าแรง 400 บาทกับธุรกิจที่มีแรงงานมากกว่า 200 คนก่อน และระหว่างนี้ พยายามกู้สถานะ SMEs ก่อน ซึ่งในช่วงสิ้นปีนี้ รัฐบาล จะมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับ SMEs อีกครั้งหนึ่ง ตามที่อนุกรรมการไตรภาคีแต่ละจังหวัดส่งข้อมูลกลับมายังกระทรวงแรงงาน

ส่วนช่วงเวลา และความเป็นไปได้ในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทภายในปี 2570 นั้น นายพิพัฒน์ ย้ำว่า ตนเองมีความมุ่งมั่น ให้สามารถปรับค่าแรง 400 บาทได้เสร็จสิ้นได้ก่อน และหลังจากนั้น จะมีการชี้แจงช่วงเวลาดังกล่าวนอกเหนือจากนี้อีกครั้ง โดยจะต้องพิจารณาจากสถานะของผู้ประกอบการ และสถานะเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงแรงงาน จะอยู่ได้ด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้